My Account Login

6 เดือนทรัมป์นั่งประธานาธิบดี ออกคำสั่งฝ่ายบริหารชุดใหญเขย่าโลก่ สะเทือนตลาดและสมดุล Fed

แรงสั่นสะเทือนทางภูมิรัฐศาสตร์เขย่าตลาด EBC Financial Group ชี้ผลกระทบทั่วโลกจาก 6 เดือนแรกของทรัมป์ ภายใต้นโยบายคำสั่งฝ่ายบริหารและแรงกดดันด้านการเงิน

EBC Financial Group วิเคราะห์การตัดสินใจสำคัญของประธานาธิบดี ปฏิกิริยาของตลาด และแนวโน้มในอนาคต ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเมือง

DC, UNITED STATES, July 14, 2025 /EINPresswire.com/ -- จากกระแส "Trump Trade" ที่เต็มไปด้วยความหวังช่วงก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สู่ช่วงหกเดือนแรกของการดำรงตำแหน่งของโดนัลด์ ทรัมป์ โลกการเงินได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ที่เต็มไปด้วยความปั่นป่วนทางการเมืองและการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ตั้งแต่ข้อเสนอการเก็บภาษีนำเข้าอย่างเข้มงวด การปฏิรูปนโยบายการคลังครั้งใหญ่ ไปจนถึงท่าทีที่เปิดรับสกุลเงินดิจิทัล การกลับมาของรัฐบาลทรัมป์ได้สร้างความผันผวน ส่งสัญญาณเศรษฐกิจที่หลากหลาย และกระตุ้นภาวะความไม่แน่นอนที่ฝังลึกในระบบการเงินโลก

ตามรายงานของ EBC Financial Group (EBC) ช่วงหกเดือนแรกภายใต้การนำของประธานาธิบดีทรัมป์ไม่ได้สะท้อนเพียงความไม่แน่นอนด้านนโยบาย แต่ยังเผยให้เห็นถึงความสมดุลที่เปราะบางซึ่งตลาดโลกจำเป็นต้องรักษาไว้ระหว่างความคาดหวังเชิงบวกกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น สำหรับนักลงทุน ภาคธุรกิจ และรัฐบาลทั่วโลก กระแสตอบรับที่เกิดขึ้นนั้นรุนแรงและหลีกเลี่ยงไม่ได้

แรงสั่นสะเทือนทางนโยบาย: ภาษี สงครามการค้า และความผันผวนในตลาดโลก

นโยบายเศรษฐกิจล่าสุดของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ต่อทิศทางของตลาดโลก โดยเฉพาะการกลับมาใช้มาตรการทางการค้าแบบปกป้องตนเอง ซึ่งชี้ให้เห็นถึงจุดยืนใหม่ที่เข้มข้นยิ่งขึ้นของรัฐบาลสหรัฐฯ หลังจากช่วงต้นปีมีการชะลอการจัดเก็บภาษี ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกฟื้นตัวชั่วคราว ประธานาธิบดีทรัมป์ได้ประกาศมาตรการภาษีใหม่ภายใต้ชื่อ “วันปลดปล่อย” ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งนำไปสู่ความผันผวนในตลาดอย่างมีนัยสำคัญ เดวิด บาร์เร็ตต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ EBC Financial Group (UK) Ltd. ให้ความเห็นว่า “ตลาดกำลังตอบสนองต่อการตัดสินใจของผู้นำประเทศรายเดียวที่มีอำนาจสูงสุดในการกำหนดนโยบายภาษี ซึ่งนำมาซึ่งความไม่แน่นอนอย่างมาก ความกังวลของนักลงทุนไม่ได้จำกัดเพียงรายละเอียดของนโยบายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงแรงจูงใจทางการเมืองที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อ” บาร์เร็ตต์กล่าวเพิ่มเติมว่า “สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่แค่การเปลี่ยนแปลงในห่วงโซ่อุปทาน แต่เป็นการปรับโครงสร้างกระแสการค้าระดับโลกครั้งใหญ่”

แม้ตลาดหุ้นจะร่วงลงในช่วงแรก แต่ต่อมาฟื้นตัวบางส่วนภายหลังรัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศชะลอการบังคับใช้มาตรการออกไป 90 วัน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ระยะเวลาผ่อนผันได้สิ้นสุดลง และทำเนียบขาวยืนยันว่ามาตรการภาษีชุดใหม่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 สิงหาคม โดยไม่มีการขยายเวลาเพิ่มเติม กรอบนโยบายฉบับใหม่ประกอบด้วยการจัดเก็บภาษีพื้นฐาน 10% กับประเทศส่วนใหญ่ ควบคู่กับการกำหนดอัตราภาษีเฉพาะกลุ่ม ได้แก่ การเก็บภาษี 25–40% สำหรับสินค้านำเข้าจากแอฟริกาใต้ มาเลเซีย และไทย การเก็บภาษี 50% สำหรับการนำเข้าทองแดง และการเก็บภาษีเพิ่มอีก 40% สำหรับสินค้าที่มีการเปลี่ยนถิ่นขนส่งจากเวียดนาม แม้สหรัฐฯ จะสามารถบรรลุข้อตกลงทางการค้ากับสหราชอาณาจักรและเวียดนามได้แล้ว แต่การเจรจากับสหภาพยุโรป แคนาดา และจีน ยังคงอยู่ในภาวะไม่แน่นอน

ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่หลากหลายสะท้อนภาพรวมที่ไม่สมดุล

แม้จะมีความปั่นป่วนและความท้าทาย แต่ตัวเลขเศรษฐกิจหลักยังคงแสดงสัญญาณความมั่นคงในระดับปานกลาง โดยอัตราเงินเฟ้อที่เคยพุ่งขึ้นสูงถึง 3% ในเดือนมกราคม ได้ปรับลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 2.4% ขณะที่การจ้างงานมีความผันผวน โดยเฉพาะในภาคการผลิตและภาคราชการ ซึ่งในเดือนพฤษภาคม รัฐบาลกลางได้ลดตำแหน่งงานไปกว่า 22,000 ตำแหน่งภายใต้โครงการ “เพิ่มประสิทธิภาพ” ของประธานาธิบดีทรัมป์ อย่างไรก็ตาม ในเดือนมิถุนายน รายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตร (NFP) กลับสร้างความประหลาดใจให้ตลาด ด้วยการเพิ่มขึ้นของตำแหน่งงานใหม่ถึง 147,000 ตำแหน่ง ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ประมาณ 110,000 ตำแหน่ง พร้อมกับอัตราว่างงานที่ลดลงจาก 4.2% เหลือ 4.1%

ด้านผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หดตัวในอัตราปีละ 0.5% ในไตรมาสแรกของปี ซึ่งถือเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 3 ปี นักเศรษฐศาสตร์ประเมินว่า ปัจจัยชั่วคราวจากการนำเข้าและการสะสมสินค้าคงคลังก่อนการบังคับใช้มาตรการภาษีเป็นสาเหตุหลัก อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ผู้บริโภคที่อ่อนแรงและภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังซบเซา ยังสะท้อนความท้าทายเชิงโครงสร้างในระยะยาว

เดวิด บาร์เร็ตต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ EBC Financial Group (UK) Ltd. ให้ความเห็นว่า “แม้ตัวเลขเศรษฐกิจภายนอกจะดูมีเสถียรภาพ แต่เบื้องหลังยังมีปัจจัยที่น่ากังวล อาทิ ยอดค้าปลีกที่ชะลอตัว กิจกรรมการก่อสร้างที่ล่าช้า และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด คำถามสำคัญในขณะนี้ คือ นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของภาวะชะลอตัวตามวัฏจักร หรือสัญญาณของปัญหาเชิงโครงสร้างที่รุนแรงกว่าที่คาดไว้กันแน่”

ชัยชนะทางกฎหมาย การขยายตัวทางการคลัง และการขยายเพดานหนี้

นอกเหนือจากคำสั่งฝ่ายบริหารร ประธานาธิบดีทรัมป์ยังประสบความสำเร็จในการผลักดันกฎหมายสำคัญ “Big Beautiful Bill” ซึ่งมีเนื้อหากว่า 900 หน้า และผ่านความเห็นชอบในช่วงปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ประกอบด้วยการขยายผลถาวรของมาตรการลดภาษีที่เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2017 การมอบสิทธิประโยชน์ทางภาษีเฉพาะกลุ่ม รวมถึงการปรับลดงบประมาณโครงการเมดิแคร์ พร้อมกันนี้ยังมีการเพิ่มงบประมาณด้านกลาโหมและความมั่นคงตามแนวชายแดนอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ กฎหมายยังได้กำหนดการขยายเพดานหนี้ของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอีก 5 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อเปิดทางให้กระทรวงการคลังสามารถออกตราสารหนี้เพิ่มเติมและป้องกันการปิดทำการของรัฐบาลในระยะสั้น

การตอบรับจากตลาดต่อกฎหมายฉบับนี้เป็นไปในทิศทางที่ผสมผสาน นักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากขึ้นในประเด็นนโยบายภาษีและลดความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การคลังระยะสั้น แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดคำถามถึงทิศทางระยะยาวของการกู้ยืมเงินรัฐบาล โดยเฉพาะในช่วงที่มีการเพิ่มงบประมาณทั้งในด้านการทหารและโครงสร้างพื้นฐานพร้อมกัน

“สหรัฐฯ ได้ซื้อเวลาให้กับตัวเอง แต่ต้องแลกมาด้วยแรงกดดันทางการคลังที่เพิ่มขึ้น” เดวิด บาร์เร็ตต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร EBC Financial Group (UK) Ltd. กล่าว “ตลาดกำลังจับตาว่านโยบายเหล่านี้จะสามารถขับเคลื่อนผลิตภาพและการเติบโตที่แท้จริงได้หรือไม่ หรือเป็นเพียงการถ่วงเวลาปัญหาในระยะยาว”

ค่าเงินอ่อนค่าและและความท้าทายของ Fed ท่ามกลางแรงกดดันทางเศรษฐกิจและการเมือง

ตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐได้อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง สะท้อนความกังวลของนักลงทุนต่อผลกระทบของภาษีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ การเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะ และการคาดการณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในผู้นำของ Fed ประธานาธิบดีทรัมป์ได้แสดงจุดยืนชัดเจนในการเรียกร้องให้ Fed ลดอัตราดอกเบี้ย แต่ประธานเจอโรม พาวเวลล์ ยังคงยึดมั่นในจุดยืนเดิม โดยเน้นย้ำถึงความเสี่ยงของเงินเฟ้อเป็นเหตุผลหลัก

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ซึ่งเคยพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเกือบ 4.8% เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ได้ปรับลดลงและทรงตัวในช่วง 4.0–4.6% ก่อนจะขยับขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับใกล้ 4.4% ตามข้อมูลล่าสุด อย่างไรก็ตาม แนวทางนโยบายของ Fed ยังเผชิญแรงกดดันจากหลายปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะความพยายามของประธานาธิบดีทรัมป์ในการผลักดันให้ลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งสร้างความกังวลให้ธนาคารกลางทั่วโลก เนื่องจากมาตรการภาษีที่บังคับใช้อาจเป็นแรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นในระยะยาว

“แม้เงินเฟ้อในปัจจุบันจะชะลอตัวลง แต่ผลกระทบเต็มรูปแบบจากมาตรการภาษียังไม่ปรากฏอย่างชัดเจนในระบบเศรษฐกิจ” เดวิด บาร์เร็ตต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร EBC Financial Group (UK) Ltd. กล่าว “หากต้นทุนยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและกำไรของภาคธุรกิจถูกบีบอัด เราอาจเผชิญกับความท้าทายที่ธนาคารกลางต้องเผชิญทั้งแรงกดดันทางการเมืองที่ต้องการลดดอกเบี้ย และแรงกดดันทางเศรษฐกิจที่บังคับให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ ซึ่งเป็นทางเลือกที่ยากจะรักษาสมดุลได้”

สกุลเงินดิจิทัลพุ่งแรง แต่ไม่ไร้ซึ้งข้อโต้แย้ง

หนึ่งในความเคลื่อนไหวที่น่าจับตามองของรัฐบาลทรัมป์ในสมัยที่สอง คือการเปิดรับและส่งเสริมสกุลเงินดิจิทัลอย่างชัดเจน โดยในเดือนมีนาคม ทำเนียบขาวได้ประกาศจัดตั้ง “คลังสำรองบิตคอยน์เชิงกลยุทธ์” พร้อมทั้งเปิดตัวเหรียญมีมอย่างเป็นทางการภายใต้ชื่อ $TRUMP ซึ่งได้รับความสนใจอย่างรวดเร็วในตลาด และสร้างมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่ก็จุดประเด็นถกเถียงในแง่จริยธรรมตามมา

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ (SEC) ได้ตอบสนองด้วยการจัดตั้ง “หน่วยงานเฉพาะกิจด้านสกุลเงินดิจิทัล” เพื่อกำหนดแนวทางการขึ้นทะเบียนและวางกรอบกติกาสำหรับสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างชัดเจน ตลอดจนสนับสนุนโครงการ Web3 พร้อมแต่งตั้งบุคคลที่สนับสนุนสกุลเงินดิจิทัลเข้าสู่ภาครัฐในยุคทรัมป์ ทำให้นักวิเคราะห์จำนวนมากมองว่า สหรัฐฯ อาจผ่อนคลายกฎเกณฑ์ด้านสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้นในปีหน้า

อย่างไรก็ตาม นักวิจารณ์บางฝ่ายมองว่า การที่ประธานาธิบดีในตำแหน่งโปรโมตเหรียญมีมที่เชื่อมโยงกับตนเอง อาจสร้างความกังวลเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อนและส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของสกุลเงินดิจิทัลในวงกว้าง “แม้สกุลเงินดิจิทัลจะมีศักยภาพสูง แต่ความยั่งยืนของอุตสาหกรรมนี้ขึ้นอยู่กับความชัดเจนของกฎระเบียบและความเป็นกลางทางการเมือง” เดวิด บาร์เร็ตต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร EBC Financial Group (UK) Ltd. กล่าว “หากอุตสาหกรรมนี้ต้องการเติบโตอย่างยั่งยืน สิ่งสำคัญที่สุดคือความชัดเจนด้านกฎระเบียบ”

แรงสั่นสะเทือนทั่วโลก และผลกระทบต่อสหราชอาณาจักร

นโยบายของทรัมป์ส่งผลกระทบต่อประเทศนอกพรมแดนสหรัฐฯ อย่างชัดเจน ในสหราชอาณาจักร ภาคธุรกิจกำลังจับตาพัฒนาการเหล่านี้อย่างใกล้ชิด การลดลงของปริมาณการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน อาจเปิดโอกาสใหม่ให้กับผู้ส่งออกสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่สินค้าสหรัฐฯ หรือจีนมีความสามารถในการแข่งขันลดลงจากภาษีที่เพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ราคาพลังงานที่สูงขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของกระแสการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับสหภาพยุโรป อาจสร้างแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อในยุโรป ขณะเดียวกัน ผู้ผลิตในสหราชอาณาจักรกำลังเผชิญกับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงในกฎระเบียบศุลกากร และระบบการจำแนกประเภทสินค้า ซึ่งอาจส่งผลให้ต้นทุนด้านการปฏิบัติตามข้อกำหนดเพิ่มสูง กระบวนการซับซ้อนขึ้น และระยะเวลาในการนำเข้า-ส่งออกยืดเยื้อกว่าเดิม สำหรับบริษัทสหราชอาณาจักรที่เคยมุ่งเน้นตลาดสหภาพยุโรปเป็นหลัก อาจเป็นช่วงเวลาที่ควรพิจารณาขยายตลาดไปยังสหรัฐฯ หรือภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกแทน

“แนวทางปกป้องทางการค้าย่อมมีทั้งผู้ที่ได้ประโยชน์และผู้ที่ได้รับผลกระทบ” เดวิด บาร์เร็ตต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร EBC Financial Group (UK) Ltd. กล่าว “ความท้าทายที่แท้จริงอยู่ที่การประเมินความเสี่ยงอย่างรอบด้าน ตัดสินใจอย่างเด็ดขาด และปรับตัวให้เท่าทันต่อพลวัตของตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ”

ตลาดการเงินยังคงไม่แน่นอน และอนาคตยังคงไม่ชัดเจนจน

เมื่อเข้าสู่ครึ่งหลังของปี นักลงทุนทั่วโลกกำลังประเมินผลกระทบจากการดำรงตำแหน่งสมัยที่สองของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งยังคงส่งผลต่อทิศทางเศรษฐกิจและตลาดการเงินอย่างต่อเนื่อง Fed คาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตของ GDP ในปี 2025 จะชะลอตัวลงเหลือเพียง 1.4% จาก 2.4% ในปี 2024 แม้อัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานจะยังอยู่ในเกณฑ์ที่บริหารจัดการได้ แต่ปัจจัยรวมด้านนโยบาย เช่น การปรับโครงสร้างภาษี การลดภาษี การเปิดรับสกุลเงินดิจิทัล รวมถึงการขยายงบประมาณภาครัฐ ยังคงสร้างความไม่แน่นอนให้กับตลาดในวงกว้าง

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความผันผวน นักลงทุนบางส่วนยังคงมีมุมมองเชิงบวกอย่างระมัดระวัง โดยอ้างอิงถึงผลประกอบการภาคธุรกิจที่ยังแข็งแกร่ง ตลาดแรงงานที่มีเสถียรภาพ และโอกาสของการปฏิรูปเชิงโครงสร้างที่อาจเกิดขึ้น

เดวิด บาร์เร็ตต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ EBC Financial Group (UK) Ltd. กล่าวว่า “นี่ไม่ใช่ช่วงเวลาที่ควรประมาท นักลงทุนจำเป็นต้องดำเนินกลยุทธ์ด้วยความระมัดระวังอยู่เสมอ เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคที่ตลาดการเงินถูกขับเคลื่อนด้วยนโยบาย ซึ่งคำสั่งฝ่ายบริหารเพียงฉบับเดียว อาจเปลี่ยนแนวโน้มของเศรษฐกิจโลกได้ในชั่วข้ามคืน”

### 

เกี่ยวกับ EBC Financial Group

ก่อตั้งขึ้นในกรุงลอนดอน EBC Financial Group (EBC) เป็นแบรนด์ระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญด้านโบรกเกอร์การเงินและการบริหารสินทรัพย์ ด้วยหน่วยงานที่ได้รับการควบคุมและดำเนินงานในหลายเขตอำนาจทางการเงินสำคัญ ได้แก่ สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย หมู่เกาะเคย์แมน มอริเชียส และอื่น ๆ EBC เปิดโอกาสให้นักลงทุนรายย่อย นักลงทุนมืออาชีพ และสถาบันเข้าถึงตลาดการเงินทั่วโลกและโอกาสการเทรดหลากหลาย เช่น สกุลเงิน สินค้าโภคภัณฑ์ และสัญญา CFDs

EBC ได้รับความไว้วางใจจากนักลงทุนกว่า 100 ประเทศ และได้รับรางวัลระดับโลกหลายครั้ง รวมถึงการยกย่องจาก World Finance อย่างต่อเนื่อง ด้วยการยืนหนึ่งในฐานะโบรกเกอร์ชั้นนำระดับโลก พร้อมรางวัล Best Trading Platform และ Most Trusted Broker ด้วยความเข้มแข็งด้านการกำกับดูแลและความโปร่งใส EBC ยังคงรักษามาตรฐานสูงสุดในตลาดการแข่งขันระดับนานาชาติ โดยมุ่งเน้นการให้บริการที่ปลอดภัย นวัตกรรม และใส่ใจลูกค้าเป็นหลัก

บริษัทในเครือของ EBC ได้รับใบอนุญาตและอยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานกำกับดูแลในแต่ละเขตอำนาจ ได้แก่ Financial Conduct Authority (FCA) ของสหราชอาณาจักร Cayman Islands Monetary Authority (CIMA) ของหมู่เกาะเคย์แมน Australian Securities and Investments Commission (ASIC) ของออสเตรเลีย และ Financial Services Commission (FSC) ของมอริเชียส

ทีมงานของ EBC ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมการเงินที่มีประสบการณ์มากกว่า 40 ปี ผ่านรอบวิกฤตเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ Plaza Accord, วิกฤตฟรังก์สวิสปี 2015 และความผันผวนในตลาดช่วงโควิด-19 ด้วยวัฒนธรรมองค์กรที่ให้ความสำคัญกับความซื่อสัตย์ ความเคารพ และความมั่นคงของสินทรัพย์ลูกค้า EBC จึงดูแลความสัมพันธ์กับนักลงทุนอย่างจริงจังและมืออาชีพ

EBC ยังเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการของสโมสรฟุตบอล FC Barcelona ในด้านการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และขยายความร่วมมือกับองค์กรระดับโลกเพื่อเสริมสร้างชุมชน เช่น โครงการ United to Beat Malaria ของ UN Foundation, ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด และพันธมิตรหลากหลายในการสนับสนุนด้านสุขภาพ เศรษฐศาสตร์ การศึกษา และความยั่งยืน

https://www.ebc.com/  

Michelle Siow
EBC Financial Group
+60 163376040
michelle.siow@ebc.com
Visit us on social media:
LinkedIn

Facebook

Twitter

View full experience

Distribution channels: Banking, Finance & Investment Industry, Business & Economy, Culture, Society & Lifestyle, U.S. Politics, World & Regional